เมนู

ให้เข้าใจผิด เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า
มุสาวาท.
ก็ในคำว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานํ นี้ บทว่า สุรา ได้แก่สุรา
5 อย่าง คือ สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าวสุก สุราผสม
เชื้อ สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง.
แม้ เมรัยก็มี 5 อย่าง คือ เมรัยที่ทำด้วยดอกไม้ เมรัยที่ทำด้วย
ผลไม้ เมรัยทำด้วยงบน้ำอ้อย เมรัยที่ทำด้วยดอกมะซาง เมรัยที่ปรุงด้วยเครื่อง
ปรุง. บทว่า มชฺชํ ได้แก่ ทั้งสองอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มัชชะ เพราะ
อรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. ก็หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าอะไรเป็นทีตั้งแห่งความ
เมา บุคคลเมาประมาทด้วยสิ่งใดที่ดื่มแล้ว สิ่งอันนี้ก็เรียกว่า มัชชะ. บทว่า
ปมาทฏฺฐานํ ได้แก่ เจตนาที่ดื่มกลืนกินมัชชะนั้น ท่านเรียกว่า ปมาทฏฺ-
ฐานํ
เพราะเป็นเหตุแห่งความเมาความประมาท เจตนากลืนกินมัชชะคือสุรา
และเมรัย เป็นไปทางกายทวารด้วยประสงค์จะกลืนกิน พึงทราบว่าสุราเมรัย
เป็นทั้งแห่งความประมาทโดยประการใด พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทเหล่านั้น
ก่อนนับตั้งแต่ปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยประการนั้น.

วินิจฉัยสิกขาบทอย่างเดียวกันและต่างกัน เป็นต้น


ในคำ เอกตานานตาทิโต โดยที่สิกขาบทอย่างเดียวกันแต่ต่างกัน
เป็นต้นนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ปาณาติบาต หรือสิกขาบทอันมีอทินนาทานเป็นต้น
เป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้จะพึงถูกฆ่า ผู้ฆ่า ประโยคและเจตนาเป็นต้น เป็น
อย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพราะมีผู้จะถูกฆ่าเป็นต้นต่างกัน หรือว่าไม่ใช่ทั้ง
สองอย่างก็เพราะเหตุไร ผู้ทักท้วงจึงกล่าวคำนี้ ผิว่าสิกขาบทจะเป็นอย่างเดียว
กัน เพราะคนที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเป็นคนเดียวกันไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อ

ใด ผู้ฆ่ามากคน ฆ่าคนที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียว หรือผู้ฆ่าคนเดียวฆ่าคนที่จะพึง
ถูกฆ่ามากคน คนที่จะพึงถูกฆ่ามากคน ก็จะถูกผู้ฆ่าฆ่าด้วยประโยคเดียว มี
สาหัตถิกประโยคเป็นต้น. หรือเจตนาอย่างเดียวก็จะยังประโยคของผู้เข้าไปตัด
ชีวิตินทรีย์ ของคนที่จะพึงถูกฆ่ามากคนให้ทั้งขึ้น เมื่อนั้น ปาณาติบาตก็จะ
พึงมีอย่างเดียว แต่ผิว่าสิกขาบทจะต่างกัน เพราะคนที่จะพึงถูกฆ่าเป็นคนต่าง
กันไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อใดผู้ฆ่าคนเดียว เมื่อทำประโยคเดียว เพื่อคนๆ
เดียว ก็ย่อมฆ่าคนที่พึงถูกฆ่ามากคน หรือผู้ฆ่ามากคนเมื่อทำมากประโยค เพื่อ
คนมากคนมีเทวทัต ยัญทัตและโสมทัตเป็นต้น ก็ย่อมฆ่าได้เฉพาะเทวทัต ยัญทัต
หรือโสมทัตคนเดียวเท่านั้น หรือผู้ที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียว ถูกผู้ฆ่าฆ่าด้วยมาก
ประโยคมีสาหัตถิกประโยคเป็นต้น เจตนามากเจตนา ก็จะยังประโยคของผู้
เข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียวเท่านั้นให้ตั้งขึ้น. เมื่อนั้น
ปาณาติบาต ก็จะพึงมีมากอย่าง แม้คำทั้งสองนั้น ก็ไม่ถูก. สิกขาบทจะชื่อว่า
เป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเหล่านั้น มีผู้เดียวก็หามิได้
สิกขาบทชื่อว่าต่างกันเพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเหล่านั้นต่างกัน ก็หามิได้
ความจริง สิกขาบทอย่างเดียวกัน และต่างกัน ก็โดยเหตุอย่างอื่น คำนั้นพึงใช้
แก่ปาณาติบาต แม้สิกขาบทนอกนั้น ก็พึงใช้อย่างนั้น.
ข้าพเจ้าขอชี้แจงต่อไปนี้:- ก่อนอื่น ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่าเป็น
อย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้น เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ต่างกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นต่างกัน ก็หาไม่ ที่แท้ ปาณาติบาต
ชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้นเป็นอย่างเดียวกัน
โดยจัดเป็นคู่ ๆ กัน. ทั้งชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่า
เป็นต้นแม้ทั้งสองนั้น เป็นอย่างเดียวกันโดยจัดเป็นคู่ ๆ กัน หรือชื่อว่าต่าง
กัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้นนั้น เป็นอีกคนหนึ่งจากคนทั้งสอง

จริงอย่างนั้น เมื่อคนผู้ฆ่ามากคน แม้ฆ่าคนผู้ที่จะถูกฆ่าหลายคน
ด้วยประโยคหลายประโยค มี สรักเขปประโยค การขุดสระเป็นต้น หรือ
ด้วยประโยค ๆ เดียวมี โอปาตขณนประโยค การขุดบ่อเป็นต้น ก็เป็น
ปาณาติบาตมากปาณาติบาต เมื่อคนผู้ฆ่าคนเดียวแม้ฆ่าคนที่ถูกฆ่ามา ๆ คน ด้วย
ประโยคเดียวหรือมากประโยคด้วยเจตนาเดียว ที่ยังประโยคนั้นให้ตั้งขึ้น หรือ
ด้วยมากประโยค ก็เป็นปาณาติบาตจากปาณาติบาต อนึ่ง เมื่อคนผู้ฆ่ามากคน
แม้ฆ่าคนที่ถูกฆ่าคนเดียว ด้วยมากประโยความที่กล่าวแล้ว หรือด้วยประโยค
เดียว ก็เป็นปาณาติบาตมากปาณาติบาต แม้ในสิกขาบทมีอทินนาทานเป็นต้น ก็
นัยนี้ในเรื่องนี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยความเป็นสิกขาบทอย่างเดียวกัน และต่างกัน
เป็นต้น ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้
เมื่อว่าโดยอารมณ์ ในข้อนี้ ปาณาติบาตชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.
อทินนาทาน อพรหมจรรย์ และสุราเมรัยมัชชปมาทัฏฐาน มีสังขารคือบรรดา
รูปธรรมมีรูปายตนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ มุสาวาทมีสัตว์เป็น
อารมณ์ เพราะปรารภคนที่จะพูดมุสาเป็นไป อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า แม้
อพรหมจรรย์ ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ อนึ่ง อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์ใน
เวลาที่สัตว์เป็นผู้ที่จะพึงถูกลักไป อีกประการหนึ่งอทินนาทาน มีสัตว์เป็น
อารมณ์ก็โดยอำนาจสังขารมิใช่โดยอำนาจพระบัญญัติ ในข้อนี้ พึงทราบวินิจ-
ฉัยโดยอารนณ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.
เมื่อว่าโดยสมาทาน ก็สิกขาบทเหล่านี้ มีปาณาติปาตาเวรมณี-
สิกขาบทเป็นต้น สามเณรสมาทานในสำนักภิกษุเท่านั้น จึงเป็นอันสมาทาน ส่วน
อุบาสกสมาทานเองก็ดี สมาทานในสำนักของผู้อื่นก็ดี ก็เป็นอันสมาทานแล้ว
สมาทานรวมกันก็ดี สมาทานแยกกันก็ดี ก็เป็นอันสมาทานแล้ว แต่ต่างกัน

อย่างไรเล่า บุคคลสมาทานรวมกัน ก็มีวิรัติเดียว มีเจตนาเดียวเท่านั้น แต่
ปรากฏว่าวิรัติและเจตนาเหล่านั้น มีถึง 5 โดยอำนาจกิจคือหน้าที่. ส่วนบุคคล
ที่สมาทานแยกกันก็พึงทราบว่ามีวิรัติ เจตนาก็ 5 ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย
โดยการสมาทาน ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อว่าโดยการขาด ในข้อนี้ สำหรับสามเณรทั้งหลาย เมื่อ
สิกขาบทหนึ่งขาด ทุกสิกขาบทก็เป็นอันขาดเพราะสิกขาบทเหล่านั้น เป็นฐาน
ที่ตั้งแห่งปาราชิกของสามเณรเหล่านั้น ด้วยสิกขาบทที่สามเณรล่วงละเมิดนั้น
แล ก็มีกรรมต่อเนื่องตามมา.
แต่สำหรับคฤหัสถ์ เมื่อศีลข้อหนึ่งขาด ก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น เพราะ
ศีลของคฤหัสถ์เหล่านั้นมีองค์ 5 ย่อมจะสมบูรณ์อีกด้วยการสมาทานศีลนั้น เท่า
นั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าบรรดาศีลที่คฤหัสถ์สมาทานเป็นข้อ ๆ เมื่อ
ศีลข้อหนึ่งขาด ก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น แต่บรรดาศีลที่คฤหัสถ์สมาทานรวมกัน
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าสมาทานศีล ที่ประกอบด้วยองค์ 5 ดังนี้ เมื่อศีลข้อหนึ่ง
ขาด ศีลแม้ที่เหลือ ก็เป็นอันขาดหมดทุกข้อ. เพราะเหตุไร ? เพราะศีลข้อ
ที่สมาทานไม่ขาด ด้วยศีลที่คฤหัสถ์ล่วงละเมิดนั่นแล ก็มีความผูกพันด้วยกรรม
ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยการขาด ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อว่าโดยโทษมาก บรรดาสัตว์มีชีวิตที่เว้นจากคุณ มีสัตว์เดียรัจ-
ฉานเป็นต้น ปาณาติบาตชื่อว่ามีโทษน้อย ก็เพราะสัตว์ตัวเล็ก, ชื่อว่ามีโทษ
มาก ก็เพราะสัตว์ตัวใหญ่. เพราะเหตุไร. เพราะประโยคใหญ่ (ความพยายาม
มาก) แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่ ส่วน
บรรดาสัตว์มีชีวิตที่มีคุณ มีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษน้อย ก็
เพราะมนุษย์มีคุณน้อย, ชื่อว่ามีโทษมาก ก็เพราะมนุษย์มีคุณมาก แต่เมื่อมี

ตัวและคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม
อ่อนและมีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า แม้ในสิกขาบทที่เหลือ
ก็นัยนี้ อนึ่ง ในข้อนี้ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมาก
ปาณาติบาตเป็นต้น หามีโทษมากเช่นนั้นไม่ เพราะอะไร เพราะทำอันตราย
แก่อริยธรรม เหตุทำผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า ในข้อนี้ พึง
ทราบวินิจฉัย แม้โดยความมีโทษมาก ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อว่าโดยประโยค ก็ในข้อนี้ ปาณาติบาตมี 6 ประโยคคือ
สาหัตถิกประโยค อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค ถาวรประโยค
วิชชามยประโยค อิทธิมยประโยค.

บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย
ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค สาหัตถิกประโยคนั้น แยกเป็น 2 คือ สาหัต-
ถิกประโยคเจาะจงและสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจง. ในสาหัตถิกประโยคทั้งสอง
นั้น เฉพาะสาหัตถิกประโยคเจาะจงบุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรม เพราะความ
ตายของคนที่ไปเจาะจงประหารเท่านั้น. ในสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า
ผู้ใดผู้หนึ่งจงตายเสียเถิดดังนี้ บุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรมเพราะความตายของ
คนใดคนหนึ่ง เหตุการประหารเป็นปัจจัย. อนึ่ง แม้ด้วยสาหัตถิกประโยคทั้ง
สอง เขาพอถูกประหารก็ตาย หรือตายด้วยโรคนั้นในภายหลัง บุคคลก็ย่อมผูก
พันอยู่ด้วยกรรม ขณะที่เขาถูกประหารเท่านั้น แต่เมื่อบุคคลประหารด้วย
ประสงค์จะให้เขาตาย แต่เขาไม่ตายด้วยการประหารนั้น กลับคิดประหารเขา
อีก ผิว่า แม้ในภายหลังเขาตายด้วยการประหารครั้งแรก บุคคลก็ย่อมผูกพัน
ด้วยกรรมในเวลานั้นเท่านั้น ถ้าว่าเขาตายด้วยการประหารครั้งที่สอง ก็ไม่เป็น
ปาณาติบาต แม้เมื่อเขาตายด้วยสาหัตถิกประโยคทั้งสอง บุคคลก็ผูกพันด้วย

กรรม โดยการประหารครั้งแรกเท่านั้น เมื่อเขาไม่ตายแม้ด้วยสาหัตถิกประโยค
ทั้งสอง ก็ไม่เป็นปาณาติบาตเลย ในข้อที่แม้คนมากคนประหารคนคนเดียว
ก็นัยนี้ แม้ในอันนี้ความผูกพันด้วยกรรม ย่อมมีแก่คนที่ประหารเขาตายเท่า
การจงใจสั่งให้เขาทำ ชื่อว่า อาณัตติกประโยค แม้ในอาณัตตก-
ประโยคนั้น ก็พึงทราบความผูกพันด้วยกรรม โดยนัยที่กล่าวไว้ในสาหัตถิก-
ประโยคนั้นแล ก็ในอาณัตติกประโยคนั้น พึงทราบว่า มีกำหนดไว้ 6 อย่าง
อาณัตติกประโยคกำหนดไว้ อย่างเหล่านี้คือ
วัตถุ1 กาล 1 โอกาส 1 อาวุธ 1 อิริยาบถ 1
กิริยาวิเศษ 1

ในข้อกำหนด 6 นั้น สัตว์มีชีวิต พึงจำไว้ว่าวัตถุ. เวลาเช้าเวลาเย็น
เป็นต้น และเวลาหนุ่มสาว เวลาเป็นผู้ใหญ่เป็นต้น ก็พึงจำไว้ว่า กาล. คาม
นิคม ป่า ตรอกหรือทางแยก ดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า โอกาส. อาวุธ
เป็นต้น อย่างนี้คือ คาบ ธนู หรือหอก พึงทรงการยืนหรือการนั่งของตนที่ถูกฆ่า
และคนฆ่าดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า อิริยาบถ. การแทง การตัด การ
ทำให้ขาด หรือกร้อนผม ดังว่ามาเป็นต้น พึงจำไว้ว่า กิริยาวิเศษ. ก็หากว่า
คนถูกเขาสั่งให้ฆ่าผู้ใด ทำวัตถุให้คลาดเคลื่อน [ฆ่าผิดตัว] ไปฆ่าคนอื่น
นอกจากผู้นั้นไซร้ ผู้สั่งก็ไม่ต้องผูกพันด้วยกรรม ถ้าเขาไม่ทำวัตถุให้คลาด
เคลื่อนฆ่าไม่ผิดตัว แม้ทั้งสองคนก็ต้องผูกพันด้วยกรรม คือผู้สั่งในขณะสั่ง
ผู้ถูกสั่งในขณะฆ่า แม้ในข้อกำหนดอื่น ๆ มีกาลเป็นต้น ก็นัยนี้.
ก็การปล่อยเครื่องประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย เพื่อทำเขา
ให้ตาย ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. แม้นิสสัคคิยประโยคนั้น ก็แยกเป็น 2
เหมือนกันคือ นิสสัคคิยประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง ในข้อนี้ การผูกพัน
ด้วยกรรม ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในข้อนี้ ๆ นั่นแล.

การขุดบ่อ การวางกระดานหก การประกอบเหยื่อยาพิษและกรงยนต์
เป็นต้น เพื่อทำให้เขาตาย ชื่อว่า ถาวรประโยค. แม้ถาวรประโยคนั้นก็แบ่ง
เป็น 2 คือถาวรประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง. ก็ในข้อนี้ การผูกพันด้วยกรรม
พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วโนข้อต้น ๆ แต่ความแปลกกันมีดังนี้ เมื่อคนหา
หัวมัน ทำบ่อเป็นต้นใกล้ ๆ หรือทำบ่อเปล่าก็ต้องคนอื่น ๆ ผิว่า เขาตาย
เพราะบ่อเป็นต้นนั้น เป็นปัจจัย ความผูกพันด้วยกรรม ก็มีแก่คนหาหัวมัน.
อนึ่ง เมื่อคนนั้นหรือคนอื่นกลบบ่อนั้นเสียแล้ว ทำพื้นให้เรียบ หรือคนกวาดฝุ่น
โกยฝุ่นไป หรือคนขุดหัวมัน ขุดหัวมัน ทำหลุมไว้ หรือเมื่อฝนตกเกิดโคลนตม
คนลงไปติดตายในโคลนตมนั้น ความผูกพันด้วยกรรม ก็มีแก่คนหาหัวมัน
นั่นแหละ ก็ผิว่า คนที่ได้หัวมันหรือคนอื่น ทำหลุมนั้นให้กว้างหรือลึกกว่า
เดิม คนลงไปตายเพราะหลุมกว้างหรือลึกนั้น ความผูกพันด้วยกรรม ก็แก่
คนแม้ทั้งสองเหมือนอย่างว่า มูลเหตุทั้งหลายย่อมเทียบกัน ได้กับการขุดหัวมัน
ฉันใด เมื่อคนกลบหลุมให้เรียบในที่นั้น คนก็พ้นจากตกหลุม ก็ฉันนั้น. แม้ใน
ถาวรประโยคมีการวางกระดานหกเป็นต้น ก้อย่างนั้นเหมือนกัน การผูกพัน
ด้วยกรรมตามเหตุที่เกิด ก็พึงทราบตราบเท่าที่ถาวรประโยคเหล่านั้นยังเป็นไป.
การร่ายวิทยาคมเพื่อทำให้ตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค.
การทำฤทธิ์ต่าง ๆ ที่เกิดแต่วิบากกรรม เพื่อทำให้เขาตาย เหมือน
ใช้อาวุธคือเขี้ยวเป็นต้น ขบด้วยเขี้ยวเป็นอาทิ ชื่อว่า อิทธิมยประโยค.
ส่วนอทินนาทานก็มีประโยค คือสาหัตถิกประโยคและอาณัตติกประโยคเป็นต้น
ที่เป็นไปโดยอำนาจ เถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปฏิจฉันนาวหาร ปริกัป-
ปาวหารและกุสาวหาร ประเภทแห่งประโยคแม้เหล่านั้น ก็พึงทราบโดยทำนอง
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล, สิกขาบทแม้ทั้งสามมีอพรหมจริยะเป็นต้น ก็ได้เฉพาะ

สาหัตถิกประโยคอย่างเดียว ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยประโยค ด้วย
ประการดังกล่าวมาฉะนี้
เมื่อว่าโดยองค์ ในข้อนี้
ปาณาติบาต มีองค์ 5 คือ
1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญี สำคัญว่า สัตว์มีชีวิต
3. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
4. วายมติ พยายาม
5. เตน มรติ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
แม้อทินนาทาน ก็มีองค์ 5 เหมือนกัน คือ
1. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน
2. ปรปริคฺคหิตสญฺญี สำคัญว่า ของมีเจ้าของหวงแหน
3. เถยฺยจิตฺตํ มีจิตคิดจะจะลัก
4. วายมติ พยายาม
5. เตน อาทาตพฺพํ อาทานํ คจฺฉติ ลักของได้มา ด้วยความ
พยายามนั้น
ส่วนอพรหมจรรย์ มีองค์ 4 คือ
1. อชฺฌาจริยวตฺถุ สิ่งที่พึงล่วงละเมิด
2. เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
3. ปโยคํ สมาปชฺชติ พยายามเข้าถึง
4. สาทิยติ ยินดี
มุสาวาท ก็มีองค์ 4 เหมือนกัน คือ
1. มุสา เรื่องเท็จ

2. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดเท็จ
3. วายาโม พยายาม เกิดแต่จิตนั้น
4. ปรวิสํวาทนํ พูดเท็จต่อคนอื่น และเขารู้เรื่องเท็จ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ก็มีองค์ 4 คือ
1. สุราทีนํ อญฺญตรํ ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. มทนียปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตคิดอยากจะดื่มจองมึนเมา
3. ตชฺชํ วายามํ อาปชฺชติ ความพยายามเกิดแต่จิตนั้น
4. ปีเต จ ปวิสติ ดื่มเข้าไปในลำคอ
ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยองค์ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.
เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน ในข้อนี้ ปาณาติบาต อทินนาทานและมุสาวาท
มีสมุฏฐาน 3 คือ 1. กายจิต 2. วาจาจิต 3. กายวาจาจิต. อพรหมจรรย์
มีสมุฏฐานเดียว คือกายจิต. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานมี 2 สมุฏฐาน ศีลกาย
และกายจิต ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย โดยสมุฏฐานด้วยประการดังกล่าวมา
ฉะนี้.
เมื่อว่าโดยเวทนา ในข้อนี้ ปาณาติบาต ประกอบด้วยทุกขเวทนา.
อทินนาทาน ประกอบด้วยเวทนา 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง มุสาวาทก็เหมือนกัน
อีกสองสิกขาบท ประกอบด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ในข้อนี้ พึง
ทราบวินิจฉัย แม้โดยเวทนา ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.
เมื่อว่าโดยมูล ในข้อนี้ ปาณาติบาต มีโทสะและโมหะเป็นมูล
อทินนาทานและมุสาวาท มีโลภะและโมหะเป็นมูลบ้าง มีโทสะและโมหะเป็น
มูลบ้าง. อีก 2 สิกขาบทนอกนี้มีโลภะและโมหะเป็นมูล ในข้อนี้ พึงทราบ
วินิจฉัยโดยมูล ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมื่อว่าโดยธรรม ในข้อนี้ ปาณาติบาต อทินนาทานและอพรหม-
จรรย์ เป็นกายกรรม และเป็นกรรมบถ มุสาวาทเป็นวจีกรรมอย่างเดียว ที่หัก
รานประโยชน์ ก็เป็นกรรมบถ มุสาวาทนอกนี้เป็นกรรมอย่างเดียว สุราเมรย
มัชชปมาทัฏฐานเป็นกายกรรมอย่างเดียว ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดย
กรรมด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.
เมื่อว่าโดยวิรัติงดเว้น ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า บุคคลเมืองดเว้น
จากปาณาติบาตเป็นต้น งดเว้นจากไหน. จะกล่าวชี้แจงดังนี้ ก่อนอื่น บุคคล
เมื่องดเว้น โดยสมาทานวิรัติ ย่อมงดเว้นจากอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น
ของตนเองหรือของคนอื่น ๆ ปรารภอะไร. ก็ปรารภอกุศลกรรมที่จะงดเว้น
นั่นแหละ เมื่องดเว้นโดยสันปัตตวิรัติ ย่อมงดเว้นจากอกุศลกรรม ดังกล่าวแล้ว
นั่นแล. ปรารภอะไร. ก็ปรารภอารมณ์แห่งอกุศลกรรมที่ปาณาติบาตเป็นต้น
ที่กล่าวแล้ว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บุคคลปรารภสังขารทั้งหลาย. ที่นับ
ได้ว่าน้ำเมา คือสุราและเมรัยจึงงดเว้นจากที่ดังแห่งความประมาท คือการดื่มกิน
น้ำเมาคือสุราและเมรัย. บุคคลปรารภบรรดาสัตว์และสังขารเฉพาะที่ตนพึงลัก
และพึงหักราน จึงงดเว้นจากอทินนาทานและมุสาวาท. ปรารภสัตว์อย่างเดียว
จึงงดเว้นจากปาณาติบาตและอพรหมจรรย์. อาจารย์นอกจากนั้นมีความเห็น
อย่างนี้ว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลเมื่อคิดอย่างหนึ่ง ก็ทำเสียอย่างหนึ่ง ละสิ่งใด
ก็ไม่รู้สิ่งนั้น ดังนี้เมื่อไม่ต้องการ [อย่างนั้น] จึงกล่าวว่า บุคคลละสิ่งใดก็ปรารภ
สิ่งนั้นคือ อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นของตนนั่นแล จึงงดเว้น. คำนั้นไม่ถูก
เพราะเหตุไร เพื่อสิ่งนั้นไม่อารมณ์ปัจจุบัน และไม่มีอารมณ์ภายนอก. จริงอยู่
ในบาลีวิภังค์แห่งสิกขาบททั้งหลาย ท่านถามว่า สิกขาบททั้ง 5 เป็นกุศลเท่าไร
ฯลฯ เป็นอรณะเท่าไร แล้วในการตอบปัญหาที่ดำเนินไปอย่างนี้ว่า กุศลทั้ง

หลาย ประกอบด้วยสุขเวทนาก็มี จึงกล่าวถึงความที่ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
และอารมณ์ภายนอกอย่างนี้ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบัน มีอารมณ์ภายนอก คำนั้น
ย่อมไม่ถูกสำหรับคนที่ปรารภอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นของตน. ในคำ
ที่ว่า บุคคลคิดอย่างหนึ่ง ทำเสียอย่างหนึ่ง และละสิ่งใดก็ไม่รู้สิ่งนั้น ขอกล่าว
ชี้แจง ดังนี้ บุคคลกำลังปฏิบัติโดยทำกิจให้สำเร็จ ใครจะกล่าวว่า คิดอย่าง
หนึ่ง ทำเสียอย่างหนึ่ง หรือว่า ละสิ่งใด ไม่รู้สิ่งนั้น ดังนี้ย่อมไม่ได้
อารภิตฺวาน อมตํ ชหนฺโต สพฺพปาปเก
นิทสฺสนญฺเจตฺถ ภเว มคฺคฏฺโฐริยปุคฺคโล
พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ปรารภอมตธรรม
ก็ละบาปธรรมได้หมด เป็นอุทาหรณ์ในข้อนี้.

ในข้อนี้พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยวิรัติงดเว้นด้วยประการดังกล่าวมา
ฉะนี้.
เมื่อว่าโดยผล บาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ทั้งหมด ย่อม
ให้เกิดผลคือทุคติ และให้เกิดวิบากที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ
ในสุคติ ทั้งให้เกิดผลมีความไม่แกล้วกล้าเป็นต้น ในภายภาคหน้าและปัจจุบัน.
อนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยผลตามนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า วิบาก
ของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ทำให้เป็นผู้มีอายุสั้น.
อีกประการหนึ่ง ในข้อนี้ ก็พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยสมุฏฐาน เวทนา
มูล กรรม และผลของเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น ในเจตนางดเว้น
นั้น ให้เข้าใจกันดังนี้ . เวรมณี เจตนางดเว้น เหล่านั้นทั้งหมด ตั้งขึ้นโดยสมุฏฐาน
4 คือ กาย กายจิต วาจาจิต กายวาจาจิต. ทั้งหมดนั่นแหละประกอบด้วย
สุขเวทนาก็มี ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี มีอโลภะอโทสะเป็นมูลก็มี

มีอโลภะอโทสะและอโมหะเป็นมูลก็มี ในข้อนี้ เวรมณีแม้ทั้ง เป็นกายกรรม
มุสาวาทาเวรมณีเป็นวจีกรรม แต่ก็ตั้งขึ้นจากจิต. ในขณะมรรคจิต แม้เวรมณี
ทั้งปวง ก็เป็นมโนกรรม.
ปาณาติปาตา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้คือ ความมีอวัยวะใหญ่
น้อยสมบูรณ์ ความมีสมบัติคือความสูงใหญ่ ความมีสมบัติคือเชาว์ว่องไว้
ความมีเท้าตั้งอยู่เรียบดี ความงาม ความนุ่มนวล ความสะอาด ความกล้า
ความมีกำลังมาก ความมีวาจาสละสลวย ความเป็นที่รักของชาวโลก ความมีวาจา
ไม่มีโทษ ความมีบริษัทไม่แตกกัน ความมีความองอาจ ความมีรูปไม่บกพร่อง
ความเป็นผู้ไม่ตายเพราะศัตรู ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นผู้มีรูปงาม
ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความมีโรคน้อย ความไม่เศร้าโศก ความไม่พลัด
พรากกับสัตว์สังขารรักที่พอใจ ความมีอายุยืน.
อทินนาทานา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้คือ ความมั่งมีธนทรัพย์
ความมั่งมีธัญญทรัพย์ ความมั่งมีโภคทรัพย์ ความเกิดโภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิด
ความมีความถาวรมั่นคงแห่งโภคทรัพย์ที่เกิดแล้ว ความได้โภคทรัพย์ที่ปรารถนา
อย่างฉับพลัน ความมีโภคทรัพย์ไม่ถูกแบ่งด้วยภัย คือ พระราชา โจร น้ำ
ไฟ ทายาทที่ไม่รักกัน ความได้ธนทรัพย์ที่ไม่สาธารณ์ ความได้โลกุตรทรัพย์
ความไม่รู้จักความไม่มี ความอยู่เป็นสุข.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี มีผลเป็นต้นดังนี้ คือ ความไม่มีศัตรู ความ
เป็นที่รักของตนทุกคน ความได้ข้าวน้ำผ้าและที่นอนเป็นต้น ความนอนสบาย
ความตื่นสบาย ความพ้นภัยในอบาย ความเป็นผู้ไม่เกิดเป็นสตรี หรือ
เกิดเป็นคนไม่มีเพศ ความไม่โกรธ ความกระทำโดยเคารพ ความเป็นที่รัก
กันแห่งสตรีและบุรุษ ความมีอินทรีย์บริบูรณ์ ความมีลักษณะบริบูรณ์ ความ
ไม่มีความสงสัย ความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ความอยู่เป็นสุข ความไม่มีภัยแต่
ที่ไหน ความไม่มีความพลัดพรากจากสัตว์สังขารที่รัก.

มุสวาทา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้ คือ ความมีอินทรีย์ผ่องใส
ความเป็นผู้พูดวาจาไพเราะสละสลวย ความมีพื้นเรียงเรียบและสะอาด ความ
ไม่อ้วนเกินไป ความไม่ผอมเกินไป ความไม่เตี้ยเกินไป ความไม่สูงเกินไป
ความมีสัมผัสสบาย ความมีปากมีกลิ่นดังดอกอุบล ความมีตนใกล้ชิดเชื่อฟังดี
ความมีวาจาที่เชื่อถือได้ ความมีลิ้นอ่อนแดงบางเสมือนดอกโกมลและอุบล
ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่คลอนแคลน.
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี มีผลเป็นต้น อย่างนี้คือ ความ
ปฏิญาณได้ฉับพลันในกรณียกิจทั้งปวง ทั้งอดีตอนาคต และปัจจุบัน ความ
มีสติมั่นคงทุกเมื่อ ความไม่เป็นคนบ้า ความมีญาณ ความไม่เกียจคร้าน
ความไม่โง่ ความไม่เป็นใบ้ ความไม่มัวเมา ความไม่ประมาท ความไม่หลง
ความไม่หวาดกลัว ความไม่แข่งดี ความไม่ต้องสงสัย ความไม่ต้องแคลงใจ
ความเป็นคนพูดสัจจะ ความเป็นคนพูดแต่วาจาไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย
ไม่เปล่าประโยชน์ ความเป็นคนไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ความ
มีกตัญญู มีความกตเวที ความไม่ตระหนี่ ความเสียสละ ความมีศีล ความ
เป็นคนตรง ความไม่โกรธ ความมีหิริ ความมีโอตตัปปะ ความมีความ
เห็นตรง ความมีปัญญามาก ความมีความรู้ ความเป็นบัณฑิต ความฉลาด
ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์. ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้
โดยสมุฏฐาน เวทนา มูล กรรม และผลด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พรรณนา 5 สิกขาบทหลัง


คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ข้อยุติจากคำพรรณนา 5 สิกขาบทต้นนั้น
ควรนำมาใช้ใน 5 สิกขาบทหลัง ควรกล่าวเป็นข้อ ๆ และควรทราบว่าสิกขาบท
มีอย่างเลวเป็นต้นไว้ด้วย บัดนี้จะพรรณนาความดังต่อไปนี้. คำใดในการ
พรรณนา 5 สิกขาบทต้น ย่อมยุติถูกต้อง คำนั้นควรถือจากการพรรณนานั้น